STEM

STEM รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง

STEM เป็นตัวย่อของชื่อ 4 สาขาวิชา ได้แก่ Science, Technology, Engineering, Mathematics เป็นการรวม 4 สาขาวิชานี้เข้าด้วยกัน แทนที่จะเรียนแยกจากกัน แต่หากนำทั้ง 4 วิชามาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อการปรับใช้จริงในโลกปัจจุบัน ซึ่งระบบการศึกษานี้ถูกออกแบบขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา

เนื่องจากกระทรวงการศึกษาของอเมริกาค้นพบว่า มีนักเรียนเพียงแค่ 16 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ให้ความสนใจในการทำงานสาขา STEM ในรัฐบาลของโอบาม่า ประธานาธิบดีคนเก่าของอเมริกาประกาศในปี 2009 ถึงนโยบาย “Educate to Innovate” เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาแบบสะเต็มศึกษา ที่มีต่อโลกปัจจุบัน และแรงงานของโลกที่ยังคงเป็นที่ต้องการอยู่มาก อีกทั้งสหรัฐอเมริกาเองอยากเป็นผู้นำทางด้านการจัดการศึกษาแบบสะเต็มศึกษา ของโลกด้วย

ดังนั้นการส่งเสริมระบบการศึกษาให้นักเรียนได้เล็งเห็นความสำคัญของระบบการเรียนแบบสะเต็มศึกษา จึงได้ถูกนำมาใช้ในนโยบายนี้ ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรครูอาจารย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนได้อย่างเพียงพอ จุดประสงค์หลักเพื่อต้องการให้นักเรียนมีประสิทธิภาพเทียบเท่าระดับสากลได้นั้นเอง

หลังจากที่ได้กำเนิดนโยบายของ Obama ที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนในสาขาสะเต็มศึกษา ให้มีมากขึ้นตั้งแต่ปี 2009 จนถึงปัจจุบันทำให้มหาวิทยาลัยและโรงเรียนในสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาแบบสะเต็มศึกษา มากเพราะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลจำนวนมากในแต่ละปี โดยหน่วยงานกว่า 13 หน่วยงานของสหรัฐที่ให้ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมในเรียนการสอนในครั้งนี้อาทิ The Committee on Stem Education (CoSTEM) และกระทรวงศึกษาธิการของอเมริกา เป็นต้น

ในปี 2014 รัฐบาลของ Obama ยังลงเงินไปกว่า 3.1 พันล้านบาท เพื่อจ้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ทำให้มีการเปิดการสอนสาขาด้านสะเต็มศึกษา และสาขาที่ใช้สะเต็มศึกษา เป็นพื้นฐานในการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยทั่วอเมริกา เพื่อให้เป็นตัวเลือกของนักเรียน จนปัจจุบันกลายเป็นสาขายอดนิยมทั้งในระดับชาติและระดับโลก

ในปัจจุบันตลาดแรงงานระดับโลกต้องการแรงงานที่มีความรู้ด้านสะเต็มศึกษา เป็นจำนวนมาก จากรายงานเว็บ STEM connector.org ได้ระบุไว้ว่าภายในปี 2018 ตลาดแรงงานต้องคนที่มีความรู้ด้านสะเต็มศึกษา กว่า 8.65 ล้านคน ซึ่งตอนนี้กำลังเป็นที่คลาดแคลนอย่างยิ่ง กระทรวงแรงงานของสหรัฐได้ระบุไว้ว่า ภายในปี 2018 ความต้องการของสะเต็มศึกษา จะเพิ่มมากขึ้นดังต่อไปนี้

  • Computing – 71 percent
  • Traditional Engineering – 16 percent
  • Physical sciences – 7 percent
  • Life sciences – 4 percent
  • Mathematics – 2 percent

โดยปกติแล้วระบบการเรียนแบบสะเต็มศึกษา จะถูกแทรกอยู่ในการเรียนการสอนของแต่ละชั้นเรียนอยู่แล้วเพียวแค่ไม่ได้ถูกเรียกอย่างชัดเจนอย่างในปัจจุบัน ซึ่งประโยชน์จากการเรียนแบบสะเต็มศึกษา นั้นมีอยู่ในหลายสกิล ได้แก่

  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ฝึกกระบวนการคิดเป็นระบบ
  • การนำประโยชน์ไปใช้
  • ทักษะการสร้าง
  • การฝึกทำอะไรที่ได้ท้าทายความสามารถ

ถ้าจะกล่าวถึงการจัดการศึกษาที่ตอบสนองต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งกำลังได้รับความสนใจและมีแรงสนับสนุนจากหลายภาคส่วนทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติแล้ว คงหนีไม่พ้นเรื่องของการจัดการศึกษาที่เรียกกันว่า “สะเต็มศึกษา (STEM)” การจัดการศึกษาแบบสะเต็มศึกษา เป็นแนวคิดการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่อง 4 ศาสตร์ อันได้แก่

S ย่อมาจากคำว่า Science แปลว่า “วิทยาศาสตร์”

วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติและมีกระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างมีขั้นตอนโดยมีเหตุผลรวมทั้งยังมีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้รวมไปถึงการทดลองเพื่อได้ผลลัพธ์

T ย่อมาจากคำว่า Technology แปลว่า “เทคโนโลยี”

เทคโนโลยี คือ การประยุกต์การใช้งานจากวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติโดยที่เรานำความรู้มาพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิต

E ย่อมาจากคำว่า Engineering แปลว่า “วิศวกรรม”

วิศวกรรม คือ การนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆเพื่อนำไปใช้งานรวมไปถึงการสร้างสิ่งที่จะมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์

M ย่อมาจากคำว่า Mathematics แปลว่า “คณิตศาสตร์”

คณิตศาสตร์ คือ การนำ2คำศัพท์มารวมกันโดยคณิตหมายถึงการนับหรือคำนวณ ส่วนศาสตร์จะเน้นในการค้นคว้าหาสิ่งที่เป็นโครงสร้างนามธรรมที่ไม่ได้ก่อให้เกิดเป็นวัตถุซึ่งเป็นวัตถุที่ไม่สามารถจับต้องได้

โดยเกิดขึ้นครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) ซึ่งได้ใช้คำนี้ในการอ้างอิงถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ก่อนที่กระทรวงด้านการศึกษาของสหรัฐอเมริกาจะเล็งเห็นถึงความสำคัญของแนวการจัดการศึกษาดังกล่าว จึงได้มีนโยบาย Educate to Innovate ซึ่งสนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาแบบ สะเต็มศึกษามากขึ้น เพื่อยกระดับการศึกษาของสหรัฐอเมริกาให้ไปสู่ในระดับสากล ซึ่งในสหรัฐอเมริกานั้น นอกจากจะมีการสอนสะเต็มศึกษาในโรงเรียนแล้ว ยังมีการเปิดสาขาวิชาสะเต็มศึกษาสำหรับการศึกษาในระดับสูงอีกด้วย

STEM

สำหรับประเทศไทย ภายหลังการเติบโตของกระแสสะเต็มศึกษาในต่างประเทศ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้มีการจัดตั้งศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนสะเต็มศึกษา ในศูนย์สะเต็มศึกษาภาค และโรงเรียนเครือข่าย โดยมีการสนับสนุนดังนี้

– จัดส่งสื่อในการสร้างความตระหนักและให้ความรู้เรื่องสะเต็มศึกษาและนิทรรศการในพื้นที่

– สร้างหลักสูตรพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัด

– พัฒนาวิทยากรและเครือข่ายพี่เลี้ยงเพื่อสนับสนุนในพื้นที่

– จัดทำระบบติดตามและประเมินผล

ซึ่งทั้งหมดนี้ มีเครือข่ายสะเต็มศึกษาประเทศไทย อันได้แก่ ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ ศูนย์สะเต็มศึกษาภาค โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา เครือข่ายมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงวิชาการ เครือข่ายศึกษานิเทศก์ และเครือข่ายครูพี่เลี้ยงวิชาการ ที่คอยดำเนินการ ส่งเสริมสนับสนุน และช่วยให้การศึกษาแบบสะเต็มศึกษาในประเทศไทยมีความก้าวหน้า

การจัดการศึกษาแบบสะเต็มศึกษา มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นถึงการนำมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการจัดการศึกษารูปแบบนี้ เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน

การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจในทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การตั้งคำถาม การแก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบเหล่านั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้

การจัดการศึกษาแบบสะเต็มศึกษานั้น ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 5 ประการ อันได้แก่

1. เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ 4 วิชาอันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เข้าด้วยกัน

2. เป็นการสอนที่ช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาทั้ง 4 สาขา ให้เข้ากับชีวิตประจำวันและการทำงาน

3. เป็นการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 นั่นคือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ และทักษะชีวิตและอาชีพ

4. เป็นการสอนที่มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งท้าทายความคิดของนักเรียน

5. เป็นการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และเกิดความเข้าใจในองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 ศาสตร์

ข้อดีของการจัดการศึกษาแบบสะเต็มศึกษานั้น คือ การทำให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีทัศนะที่กว้างไกลมากขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือการทำงานได้ เป็นแนวการจัดการศึกษาที่สามารถพลิกแพลงวิธีการสอนได้หลากหลายรูปแบบ และสอดคล้องตามความต้องการพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21

อย่างไรก็ดี แม้ว่าการจัดการศึกษาแบบสะเต็มศึกษาจะดีเพียงไร แต่ก็พบว่ามีข้อจำกัดมากมายที่เป็นอุปสรรคต้องการจัดการศึกษาแบบสะเต็มศึกษาในประเทศไทย เช่น ความไม่พร้อมในด้านสื่อเทคโนโลยี ขาดบทเรียน และขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญและชำนาญในการจัดการศึกษาแบบสะเต็มศึกษา ตลอดจนระบบการศึกษาของไทยที่กำหนดศาสตร์แต่ละศาสตร์เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ชัดเจนทำให้การบูรณาการและส่งต่อในแต่ละชั้นทำได้ยาก

ปัจจุบันตลาดแรงงานระดับโลกต้องการแรงงานที่มีความรู้ด้านสะเต็มศึกษาเป็นอย่างมาก โดยในปี ค.ศ. 2018 ที่ผ่านมา ตามรายงานของ Stemconnector ระบุว่ามีตลาดแรงงานต้องการผู้มีความรู้ด้านสะเต็มศึกษาถึง 8.65 ล้านคน โดยอยู่ในสายงานคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งตัวเลขนี้เป็นเครื่องการันตีว่า ในปัจจุบัน แต่ละประเทศให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในลักษณะของสะเต็มศึกษามากขึ้น คือ เน้นสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ

นับเป็นนิมิตหมายอันดีที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาแบบสะเต็มศึกษา เพราะถือเป็นเรื่องที่ทันสมัย และเป็นหนทางสำคัญในการติดอาวุธทางปัญญาให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อให้พวกเขาเติบโต มีความพร้อม กล้าที่จะเผชิญความท้าทายใหม่ ๆในโลกที่มีแนวโน้มจะแข่งขันสูงขึ้นได้ จึงเป็นหนึ่งในแนวการศึกษาที่ควรส่งเสริมอย่างจริงจังในทุก ๆ โรงเรียนเป็นอย่างยิ่ง

สรุป

การจัดการศึกษาแบบสะเต็มศึกษา คือ 4 สาขาวิชาที่นำตัวอักษรย่อตัวแรกมาต่อกันเป็นคำเดียวโดย 4 คำนี้จะมีคำว่า Science วิทยาศาสตร์, Technology เทคโนโลยี , Engineering วิศวกรรม, Mathematics คณิตศาสตร์ โดย 4 สาขานี้นำมาบูรณาการใหม่เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่สามารถที่จะวิเคราะห์ปัญหาที่จะนำมาใช้กับชีวิตจริงได้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงกระบวนทางความคิดอย่างมีสร้างสรรค์ในการทำงานและการจัดการโปรเจคสะเต็มศึกษา จะผลักดันให้การศึกษานั้นดียิ่งขึ้นรวมไปถึงสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการพัฒนาในเรื่องของความคิดและเจออาชีพที่ชอบหรือสิ่งที่สนใจจะนำไปใช้กับการเลือกอาชีพในอนาคตได้

คำถามที่พบบ่อย

1. STEM คืออะไร ?

– STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics หรือการบูรณาการความรู้ระหว่าง 4 สาขาวิชา โดยรูปแบบการเรียนรู้ที่นำเอาแกนหลักของสาขาวิชาเหล่านี้มาผสานรวมกันเรียกว่า สะเต็มศึกษา เพื่อนำเอาจุดเด่นของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่างลงตัว

2. สเต็มศึกษา มีความสำคัญอย่างไร?

– ในสังคมโลกในขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยความก้าวหน้าเทคโนโลยีการสื่อสารก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่มีข้อมูลข่าวสารจำนวนมหาศาลอยู่ในแหล่งต่างๆ รวมถึงการที่ต้องแข่งขันกันเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้าทำให้ทุกประเทศต้องเร่งพัฒนาประชากรของตนให้มีคุณภาพสูงขึ้นเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและแข่งขันในตลาดแรงงานกับนานาอารยะประเทศได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการปรับหลักสูตรโดยบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์เทคโนโลยีและกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงและการประกอบอาชีพในอนาคต

แหล่งที่มาของข้อมูล

https://www.trueplookpanya.com/education/content/76579-teaartste-teaart-

https://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/6900-what-is-stem.html

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ jagexss.com

แทงบอล

Releated